ตามหาอาวุธในตำนาน (indicator) พิชิต forex
ในบทความที่แล้วเรื่อง ก่อนหาอาวุธคู่กายในการเทรด FOREX เราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Indicator รวมไปถึง แนวโน้มหรือเทรด(trend) ของราคาตลาด Forex ไปแล้ว ในบทความนี้จะกล่างถึงการนำราคามาเปรียบเทียบกับเวลาสร้างเป็นกราฟเพื่อง่ายในการตีความของคนลงทุน โดยกราฟส่วนใหญ่จะใช้อยู่สามประเภทหลัก ๆ ได้แก่
- กราฟแท่งเทียน (CandleStick Chart)
- กราฟแบบแท่ง (Bar Chart)
- กราฟแบบเส้น (Line Chart)
และในบทความนี้จะกล่าวถึง กราฟแท่งเทียน ที่นิยมใช้กันก่อนนะคะ
กราฟแท่งเทียน (Candlestick Chart) คืออะไร
กราฟแท่งเทียน เป็นกราฟที่แสดงราคาของหุ้นตัวนั้น ซึ่งจะแสดงราคาเปิด ( Open Price ) ราคาปิด (Close Price) ราคาสูงสุด ( High Price) และราคาต่ำสุด ( Low Price ) โดยต้นกำเนิดของกราฟแท่งเทียนมาจากประเทศยี่ปุ่นโดยมีประวัติย้อนหลังยาวนาน มาก โดยนาย Munehisa Homma เป็นผู้คิดค้นจากการวิเคราะห์จิตวิทยาของคนในการซื้อชายและกำหนดราคาข้าว และเขาได้เขียนหนังสือไว้สองเล่มคือ Sakata Henso และ Soba No Den เมื่อประมาณ พ.ศ. ที่ผ่านมาประเทศกลุ่มตะวันตกทั้งหลายได้เห็นถึงประสิทธิภาพจึงได้นำมา ประยุกต์ใช้กับตลาดหุ้น ตลาดซื้อขายล่วงหน้า ตลาดเงินตราระหว่างประเทศ โดยรูปแบบต่างๆของกราฟแท่งเทียนนั้นมีอยู่ด้วยกันมากกว่า 50ประเภท แต่เรานำมาประยุกต์ใช้กับตลาด ณ ปัจจุบันเพียงและเกิดขึ้นบ่อยๆ เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น
รูปร่างทั่วไปของกราฟแท่งเทียน
กราฟแท่งเทียน จะประกอบด้วย ราคาปิด ราคาเปิด ราคาต่ำสุด ราคาสูงสุด ซึ่งระยะระหว่างราคาปิดและราคาเปิดเราจะเรียกว่า ตัวแท่ง ( Body) ใส้เทียนด้านบน คือ Upper Shadow และ ใส้เทียนด้านล่าง Lower Shadow
ลักษณะของแท่งเทียน มีอยู่ สาม แบบ คือ
- แท่งเทียนขาขึ้น Bullish Candlestick ลักษณะของแท่งเทียนขาขึ้นนี้ ราคาปิดจะอยู่สูงกว่าราคาเปิด
- แท่งเทียนขาลง Bearish Candlestick ลักษณะของแท่งเทียนขาลงคือ ราคาปิดจะต้องต่ำกว่าราคาเปิด
- Doji โดจิคือ ราคาเปิดและราคาปิดของแท่งเป็นราคาเดียวกัน หรือ อยู่ใกล้เคียงกันมากๆ
รูปแบบของแท่งเทียน (Candlestick Pattern) มีด้วยกัน 3 รูปแบบคือ
- รูปแบบของแท่งเทียนขาขึ้น (Bullish Candlestick Pattern)
- รูปแบบของแท่งเทียนขาลง (Bearish Candlestick Pattern)
- รูปแบบของแท่งเทียนแบบต่อเนื่อง (Continuous Candlestick Patern)
รูปแบบกราฟแท่งเทียนที่มักจะพบบ่อยที่สุด มีดังนี้
โดยปกติแล้ว รูปแบบของแท่งเทียนมีเยอะมาก มากกว่า 50 รูปแบบ ถ้าจะให้เราจำหมด ก็คงไม่ไหว วันนี้จึงเอาเฉพาะรูปแบบที่พบบ่อยบนกราฟของเรามาให้ดูกันค่ะ ว่าแต่ละตัวบอกถึงอะไร สื่อความหมายว่าอย่างไร การดูแท่งเทียนเป็นวิธีการที่ดีที่ใช้ในการวิเคราะห์หุ้น หรือ ฟอเร็กซ์ และเพื่อความแม่นยำให้กับการวิเคราะห์กราฟของเรา เราก็ควรจะใช้รูปแบบของกราฟแท่งเทียนร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น Indicator , Fibonacci , Trendline , Moving Average และ รูปแบบกราฟโดยทั่วไป เราสามารถประยุกต์กราฟแท่งเทียนเข้ากับเครื่องมือเหล่านี้ได้
10 อันดับที่พบบ่อยของ รูปแบบกราฟแท่งเทียน
Dark Cloud Cover เป็นแท่งเทียนตามด้วยแท่งเทียนสีดำ ราคาเปิดของแท่งสีดำจะเปิดสูงกว่าราคาสูงสุดของแท่งสีขาวและราคาปิดของแท่ง สีดำจะปิดต่ำกว่าจุดกึ่งกลางของแท่งสีดำ รูปแบบนี้เป็นสัญญาณการกลับทิศจากแนวโน้มขาขึ้นกลายเป็นแนวโน้มขาลง (Bearish Reversal Signal)
แต่ถ้าราคาปิดของแท่งเทียนสีดำ ปิดสูงกว่าจุดกึ่งกลางของแท่งเทียนสีข่าว ให้เรารอสัญญาณยืนยันของแท่งเทียนสีดำอีกแท่ง ถ้าราคาปิดของแท่งเทียนอีกแท่งปิดต่ำกว่ากึ่งกลางของแท่งสีขาว ก็เป็นสัญญาณการกลับตัวเป็นตลาดขาลง
Doji เป็นกราฟแท่งเทียนที่มีราคาเปิดและราคาปิดอยู่ในราคาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันมากๆ เราก็ถือว่ากราฟแท่งเทียนนั้นเป็นโดจิ ลักษณะของมันจะคล้าย เครื่องหมาย บวก เครื่องหมาย ลบ กากบาท ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกเรียกว่า โดจิ
ถ้าเกิด โดจิ ขึ้นกับกราฟของเรา นั่นคือสัญญาณบอกเราว่า ราคากำลังจะเปลี่ยนจากแนวโน้มเดิม โดยทั่วไปแล้ว เราจะดู โดจิเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูแท่งเทียนถัดมาอีกแท่งเพื่อเป็นสัญญาณยืนยันของแนว
โน้มนั้น
Engulfing Pattern ในสภาวะที่เป็นตลาดขาลงเราจะเป็นว่าแท่งสีดำ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเปลี่ยนแท่ง ราคาจะกระโดดโดยที่ราคาเปิดของแท่งสีขาวจะอยู่ต่ำกว่าราคาปิดของแท่งสีดำ และมีแรงซื้อเข้ามาทำให้เราราปิดของแท่งสีขาวสูงกว่าราคาสูงสุดของแท่งสีดำ นี่คือ ตลาดกำลังจะ
กลับตัวจากแนวโน้มลงเป็นแนวโน้มขาขึ้น ลักษณะรูปแบบแท่งเทียนแบบนี้เรียกว่า Engulfing Bullish
Engulfing Pattern จะประกอบด้วย 2 รูปแบบคือ Engulfing Bullish และ Engulfing Bearish
Evening Star โดยทั่วไปแล้วรูปแบบแท่งเทียนนี้จะเป็นการกลับตัวของกราฟจากแนวโน้มขาขึ้น กลายเป็นแนวโน้มขาลง โดบรูปแบบนี้จะประกอบด้วยแท่งเทียนสามแท่ง แท่งแรกเป็นแท่งเทียนสีขาวยาวๆ และตามด้วยแท่งเล็กๆ ที่เกิดการกระโดดขึ้นไปอยู่บนยอด (gap) และมีขนาดเล็กๆ ราคาปิดและราคาเปิดของแท่งเทียนที่สองจะอยู๋ใกล้เคียงกัน จากนั้นก็เกิดช่องว่าง(gap)เปลี่ยนเป็นแท่งที่สามเป็นแท่งสีดำยาวๆ นี่คือลักษณะของ Evening Star นอกจาก Evening Star แล้วก็ยังมี Morning Star โดยหลักการก็ตรงกันข้ามกับ Evening Star
Hammer เมื่อตลาดอยู่ในสภาวะขาลงมีแท่งเทียนสีดำลงมาเรื่อยๆ จากนั้นราคาได้ดีดตัวขึ้นจากจุดต่ำสุด โดยลักษณะของแท่งเทียนจะเป็นแบบตะปู โดยที่มีราคาปิดจะปิดสูงกว่าราคาต่ำสุดลักษณะนี้เราจะเรียกว่า Hammer
Hammer มักจะบอกเราอยู่เสมอว่า ราคากำลังจะเปลี่ยนจากแนวโน้มขาลงกลายเป็นแนวโน้มขาขึ้น
Hanging Man รูปแบบของ Hanging man จะคล้ายกับ Hammer แต่จะเกิดกับแนวโน้มขาขึ้น ถ้าเกิด Hanging man กราฟมันกำลังบอกเราว่า แนวโน้มกำลังจะเปลี่ยนจากขาขึ้นกลายเป็นขาลง ให้รอสัญญาณยืนยันจากแท่งเทียนขาลงอีกแท่ง
Harami รูปแบบนี้จะประกอบด้วยแท่งเทียนสองแท่งแท่งเทียนขาขึ้นสีขาวและแท่งเทียนสี ดำ เมื่อมีแท่งเทียนปิดตัวลงได้เกิดแท่งเทียนสีดำเล็กขึ้น โดยแท่งเทียนสีดำอยู่ระหว่าง Body ของแท่งเทียนสีขาว แท่งเทียนแบบ Harami นี้จะบอกการกลับตัวจากแนวโน้มเดิม
Harami จะประกอบด้วย 2 รูปแบบคือ Bullish Harami และ Bearish Harami ตัวอย่างด้านบนเป็น Bullish harami
Morning Star รูปแบบของแท่งเทียนแบบ morning star จะดูกันแค่ 3 แท่ง รูปแบบนี้เอาไว้ดูการกลับตัวของกราฟจากขาลงเป็นขาขึ้น (Bullish Reversal candle pattern) จะประกอบแท่งเทียนสีดำยาวๆ ซึ่งเป็นแท่งเทียนขาลงและ ตามด้วยแท่งเทียนสั้นๆ ที่เกิด gab ด้วย เมื่อมีแท่งสั้นๆตรงกลางแล้ว ตามด้วย แท่งเทียนสีขาว
แท่งเทียนสีขาวที่เกิดขึ้น ราคาปิดของแท่งเทียนสีขาวต้องปิดสูงกว่ากึ่งกลางของแท่งเทียนสีดำ
Piercing Line เป็นแท่งเทียนสีดำ ตามด้วยแท่งเทียนสีขาวที่มีราคาเปิดต่ำกว่าราคาปิดของแท่งเทียนสีดำ แต่แท่งเทียนสีขาวสามารถทำราคาปิดสูงกว่ากึ่งกลางของแท่งเทียนสีดำ รูปแบบนี้เป็นรูปแบบการกลับตัวการกลับตัวของกราฟจากขาขึ้นเป็นกราฟขาลง และรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ตรงข้ามกับ Dark Cloud Cover
Shooting Star รูปแบบนี้จะตรงข้ามกับรูปแบบของ Hammer แท่งเทียนแท่งแรกเป็นแท่งเทียนขาขึ้น และตามด้วยแท่งเทียนที่มีราคาปิดและเปิดอยู่ใกล้ๆกับราคาต่ำสุด รูปแบบนี้จะบ่งบอกเราว่ากราฟกำลังจะเปลี่ยนแนวโน้มจากขาขึ้นมาเป็นแนวโน้มขา ลง
ทริคในการเทรดโดยรูปแบบแท่งเทียน
เราสามารถดูแท่งเทียนเพียงอย่างเดียวในการเทรด ได้ แต่เพื่อความแม่นยำ ควรจะดูควบคู่ไปกับ Indicators หรือ เครื่องมืออื่นๆไปด้วย เช่น
- จะดูรููปแบบของแท่งเทียนควบคู่ไปกับการดู Overbought Oversold เมื่อ Indicators บอกเราว่า ราคาได้ Oversold แล้ว ก็จะมาดูที่ราคา แล้วรอจนกว่าราคาจะเกิดแท่งเทียนกลับตัวเป็นแท่งเทียนขาขึ้น หรือเป็นรูปแบบกราฟแท่งเทียนขาขึ้น (Bullish Candle Pattern) จากนั้นเราจึงตัดสินใจที่จะซื้อ (Buy)
- ดูรูปแบบแท่งของแท่งเทียนควบคู่ไปกับ Trendline เมื่อราคาลงมาชนเส้นแนวโน้มขาขึ้น (Support Trendline or Uptrendline) พอมันลงมาชนแล้วเด้งขึ้น แล้วเราก็รอดูราคาปิดของแท่งเทียน ถ้าราคาปิดสูงกว่า กึ่งกลางของแท่งก่อนหน้านั้น แล้วเราจึงสินใจ Buy (ในกรณีที่ราคาขึ้นไปชนแนวโน้มขาลง(Resistance Trendline) ก็ทำตรงข้ามกัน)
- ดูรูปแบบแท่งเทียนควบคู่กับ แนวรับแนวต้านจากราคาในอดีต และ Fibonacci เมื่อราคาแตะแนวรับแนวต้าน ให้เราสังเกตลักษณะแท่งเทียน ถ้าชนแนวเด้ง นั่นหมายความว่า ราคามีโอกาสกลับตัว แต่ถ้าชนแล้วผ่านฉลุย ปล่อยให้ราคามันวิ่งไป อย่าไปแตะมัน
สรุป กราฟแท่งเทียน (Candlestick Chart) เป็นกราฟที่แสดงราคาจากจุดสูงสุดถึงจุดต่ำสุดในช่วงเวลานั้น ภายในแท่งจะประกอบด้วย ตัวแท่ง (Body) ไส้เทียน (Shadow )บางคนเรียก เงาของแท่งเทียน ตัวแท่งนั้นจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม จะแสดงราคาปิดและเปิดของแท่ง และที่ตำแหน่งของไส้เทียนบนสุดคือ ราคาสูงสุด และที่ตำแหน่งไส้เทียนล่างสุด คือ ราคาต่ำสุด ณ ช่วงเวลานั้น ตัวอย่าง ดังรูป
และต่อจากนี้ เรามาตามหาอาวุธที่จะมาใช้ในการเทรด (อาจจะเรียกว่า กระบี่ของจอมยุทธ์ ก็ว่าได้) หรือหา indicator ที่เหมาะสมในแต่ละเหตุการที่เราจะใช้ในการเทรด Forex นั่นเอง ว่าแต่เจ้า indicator หรือชื่อไทยเก๋ ๆ ว่า ตัวชี้วัดการวิเคราะห์ย้อนหลังกราฟ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อินดี้ โดยอินดิเคเตอร์จะแสดงแนวโน้มหลังราคาเสมอ เราอาจจะใช้คำว่าคาดการณ์ ว่าราคาต้องขึ้น หรือลง จากอินดิเคเตอร์ เช่น ราคาได้ลงแล้ว แล้วอินดิเคเตอร์ชี้ลง เราก็อาจจะ Sell หรือ ราคาขึ้นแล้ว อินดิเคเตอร์ชี้ขึ้น เราก็อาจจะ Buy การวิเคราะห์โดยใช้อินดิเคเตอร์นี้ เป็นการวิเคราะห์ที่ง่ายที่สุด และสามารถทำกำไรได้ถ้าเข้าใจพื้นฐานมันอย่างดี ลองนำไปใช้ดูนะคะ